คำถาม-คำตอบ ที่พบบ่อย หน้าแรก ผลิตภัณฑ์ การบริการ แนะนำบริษัท ติดต่อบริษัท ข้อมูลเพิ่มเติม
 
 
 


ระบบไฟฟ้าแบบ Star 3 เฟส 4 สาย แรงดันไฟฟ้า 380/220 โวลต์ (Line - Line 380 โวลต์ Line - Neutral 220 โวลต์)


  
ระบบไฟฟ้าแบบ
Delta 3 เฟส 3 สาย แรงดันไฟฟ้า 380 โวลต์ (Line - Line 380 โวลต์)



ลักษณะโดยทั่วไป

     SILICON SR-380X SERIES เป็นเครื่องควบคุม
แรงดันไฟฟ้าและป้องกันสัญญาณรบกวน
(Automatic
Voltage Stabilizer/Line Conditioner)
ที่ต่อใช้งานกับ
ระบบไฟฟ้าแบบ 3 เฟส 4 สาย (Three Phase Four Wire) แรง
ดันไฟฟ้า 380/220 โวลต์ และสามารถสั่งผลิตพิเศษเพื่อใช้กับ
ระบบไฟฟ้าแบบ 3 เฟส 3 สาย (Three Phase Three Wire)
แรงดันไฟฟ้า 200, 220, 380, 400 โวลต์ หรือระบุแรงดันไฟฟ้า
ตามความต้องการของเครื่องมือและเครื่องจักร ที่จะนำมาต่อใช้
งานจากเครื่องสเตบิไลเซอร์ เช่น เครื่องมือ เครื่องจักร หรือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่นำเข้าจากต่างประเทศในกลุ่มยุโรป
ส่วนใหญ่จะกำหนดให้ใช้แรงดันไฟฟ้า 400/ 230 โวลต์ ระบบ
3 เฟส 4 สาย หรือที่นำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น จะกำหนดให้ใช้
แรงดันไฟฟ้า 200 โวลต์ ระบบ 3 เฟส 3 สาย เป็นต้น


ลักษณะการทำงาน
    
    
เครื่องควบคุมแรงดันไฟฟ้า หรือ เครื่องปรับแรงดันไฟฟ้า
หรือรู้จักในชื่อ เครื่องสเตบิไลเซอร์ เป็นเครื่องที่ทำหน้าที่ปรับ
ระดับแรงดันไฟฟ้าให้อยู่ในย่านที่เหมาะสมก่อนที่จะจ่ายออกไป
ใช้งาน แม้ว่าแรงดันไฟฟ้าที่เข้า เครื่องสเตบิไลเซอร์ จะมีการ
เปลี่ยนแปลงขึ้นหรือลงอยู่ตลอดเวลา ตัวอย่างเช่น
เครื่องระบุดันไฟฟ้าขาเข้า 380/220 โวลต์
มีค่า Regulation +15% ถึง - 20%
และแรงดันไฟฟ้าขาออก 380/220 โวลต์
มีค่า
Regulation ±5%
หมายความว่าแรงดันไฟฟ้าที่เข้าเครื่องสเตบิไลเซอร์
จะสามารถเปลี่ยนแปลงขึ้นลงได้อยู่ในช่วง 304 ถึง 437 โวลต์
ที่ Line to Line
หรือ 176 ถึง 253 โวลต์ ที่ Line to Neutra
โดยที่ เครื่องสเตบิไลเซอร์ จะสามารถปรับแรงดันไฟฟ้าขาออก
ให้อยู่ในช่วง 361 ถึง 399 โวลต์ ที่ Line to Line หรือ 209 ถึง 231 โวลต์ ที่ Line to Neutral อยู่ตลอดเวลา
สำหรับการป้องกัน
สัญญาณรบกวนทางไฟฟ้า สามารถป้องกันไฟกระโชกที่เกิดจาก
ไฟดับแล้วมาใหม่ รวมทั้งสัญญาณรบกวนประเภท EMI, RFI,
Noise, Surge and Spike Voltage

    

การเลือกสเตบิไลเซอร์ให้เหมาะสมกับการใช้งาน

    
การนำ เครื่องสเตบิไลเซอร์ ไปใช้งานเพื่อให้เกิด
ประสิทธิภาพสูงสุด ในการยกระดับ คุณภาพไฟฟ้า ควรคำนึงว่า
เครื่องมือ เครื่องจักร หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้งานอยู่เป็น
เครื่องมือหรืออุปกรณ์ประเภทไหน ต้องการความเที่ยงตรง
เพียงใด เช่น ถ้าเป็นเครื่องมือหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั่วๆ ไป การเลือกใช้ เครื่องควบคุมแรงดันไฟฟ้า ที่กำหนดให้แรงดัน
ไฟฟ้าขาออกให้มีค่าควบคุม (Regulation) ±5% ก็เพียงพอที่จะ
ทำให้เครื่องมือ เครื่องจักร หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เหล่านั้น
สามารถทำงานได้ตามปกติ แต่ถ้าเป็นเครื่องมือ เครื่องจักร หรือ
อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่ระบบการทำงานต้องการความเที่ยงตรง
สูง ก็ควรเลือกใช้ เครื่องควบคุมแรงดันไฟฟ้า ให้มีค่าควบคุม (Regulation) ±2.5% หรือดีกว่าคือ ±1% โดยที่ค่าตัวเลข
ยิ่งน้อยเท่าใดก็จะมีค่าการควบคุมที่เที่ยงตรงมากยิ่งขึ้นเท่านั้น
     
    อย่างไรก็ตามการเลือกผลิตภัณฑ์เครื่องควบคุมแรงดัน ไฟฟ้า ไปใช้งาน ยังต้องคำนึงถึงรายละเอียดและคุณสมบัติอื่นๆ อีกพอสมควร แต่สิ่งที่ต้องคำนึงถึงมากที่สุดคือ ระบบในการ
ทำงานหรือระบบปรับแรงดันไฟฟ้า เนื่องจากปัจจุบันได้มีผู้ผลิต
และจำหน่ายบางรายได้นำ เครื่องควบคุมแรงดันไฟฟ้าระบบ Servo Motor ที่นำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งมีราคาถูกมาจำหน่าย
แต่คุณสมบัติของระบบ Servo เป็นที่ทราบดีในในหมู่วิศวกรไฟฟ้า
ว่าเป็นระบบปรับแรงดันไฟฟ้าที่ปรับช้ากว่าระบบอื่นๆ ทุกชนิด และยังสร้างสัญญาณรบกวนในขณะทำการปรับแรงดันไฟฟ้า
จึงไม่ค่อยเหมาะสมที่จะนำไปใช้กับเครื่องมือ เครื่องจักร และ
อุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ แต่เหมาะสำหรับนำไปใช้งาน
กับระบบแสงสว่าง ระบบทำความเย็น หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไป
ที่ไม่ได้ประกอบด้วยวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งไม่ต้องการความเร็ว
ในการปรับและไม่ค่อยมีผลกระทบต่อสัญญาณรบกวนมากนัก

เปรียบเทียบคุณสมบัติระบบ Static กับระบบ Service
 
 

ระบบการปรับแรงดันไฟฟ้าให้คงที่ (Voltage Stabilization System)
   
  ใช้เทคโนโลยี Digital ที่ล้ำสมัยเพื่อการประมวลผลและควบคุมค่าแรงดันไฟฟ้า Output ให้มีความละเอียดถูกต้อง เที่ยงตรง แม่นยำ และ
      รวดเร็วยิ่งขึ้น โดยใช้วิธีการปรับแรงดันไฟฟ้าด้วยระบบสแตติกอิเล็กทรอนิกส์ (Static Electronic System) ซึ่งใช้ Triac หรือ SCR
      เป็นสวิตช์อิเล็กทรอนิกส์ในการเลือกแท็ปหม้อแปลงที่ Zero Voltage Crossing ด้วยระบบคำนวณที่มีความแม่นยำสูงและรวดเร็ว สามารถ
      ตอบสนองด้วยความเร็วสูงสุดภายในเวลาเพียง 1 ส่วน 100 วินาที (10 ms) เร็วกว่าเครื่องควบคุมแรงดันไฟฟ้าชนิดอื่นทุกชนิด สามารถ
      ควบคุมแรงดันไฟฟ้าด้าน Output ±5%, ±2.5%, ±1% หรือเที่ยงตรงถึงขีดสุด ±0.5% อีกทั้งระบบการทำงานแบบนี้ไม่ทำให้เกิด
      สัญญาณรบกวนทางไฟฟ้า เป็นระบบที่เหมาะสมและดีที่สุดที่จะนำไปใช้กับเครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์
      ความไวสูงทุกชนิด (All Sensitive Electronic Equipment)


ระบบหม้อแปลงไฟฟ้าและสวิตช์อิเล็กทรอนิกส์ (Power Transformer and Electronic Switch)
      ออกแบบระบบการปรับแรงดันไฟฟ้าโดยใช้หม้อแปลงไฟฟ้าทำงานร่วมกัน 2 ตัว คือ หม้อแปลงแบบแยกขด และหม้อแปลงเสริมและหัก
      ล้าง ทำงานร่วมกันในลักษณะ Series Boost-Buck Transformer ทำให้การจ่ายแรงดันไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้าเป็นไปอย่างเต็มกำลังและ
      ต่อเนื่องรวดเร็วกว่าระบบอื่นๆ และออกแบบให้ต่อร่วมกับสวิตช์อิเล็กทรอนิกส์ โดย Isolate จาก Main ไฟฟ้าทั้ง Input และ Output       ทำให้ปราศจากสัญญาณรบกวนอย่างสิ้นเชิง และทำให้อุปกรณ์มีอายุการใช้งานที่ยาวนานมากขึ้น


การป้องกันและกรองสัญญาณรบกวนในไฟฟ้า (Spike Transient Protection and Filter)
      ใช้ Metal Oxide Varistor และวงจร Spike Transient Suppressor ซึ่งมีคุณสมบัติในการลดทอนสัญญาณรบกวนในไฟฟ้า ที่เกิดจาก
      Motor เครื่องเชื่อมโลหะ การเปิด-ปิดสวิตช์ไฟฟ้า
หรือฟ้าผ่า มีการใช้ Toroidal Coil ซึ่งมีคุณสมบัติในการป้องกันสัญญาณรบกวน
      ความถี่สูง เช่น ความถี่วิทยุ (Radio Frequency Interference) และมี Lightning Gas Arrester เพื่อป้องกันเสิร์จที่เกิดจากฟ้าผ่า
      ซึ่งเมื่อแรงดันไฟฟ้าที่เข้ามาสูงเกินกว่าปกติจะทำให้อุปกรณ์ Lightning Gas Arrester บังคับให้ Spike Fuse ขาด มีผลให้เครื่องตัดการ
      ทำงานทันที เพื่อป้องกันไม่ให้เครื่องมือไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์หรืออุปกรณ์ที่ต่อพ่วงเสียหายได้


การป้องกันการลัดวงจร  (Short Circuit Protection) 
       
เมื่อเกิดการลัดวงจรไม่ว่ากรณีใดๆ ก็ตามทั้งทางด้านอินพุตหรือเอาท์พุต เครื่องจะหยุดทำงานทันทีด้วย Circuit Breaker
      ทำให้ไม่มีไฟฟ้ามา
จ่ายทางด้านอินพุตของตัวเครื่อง เพื่อป้องกันไม่ให้เครื่องมือที่ต่อพ่วงใช้งานอยู่เป็นอันตรายหรือเกิดความเสียหาย


การป้องกันการกระโชกของไฟฟ้า (Surge Voltage Protection)
   
   มี SVP (Surge Voltage Protection) และ Reset Switch เพื่อป้องกันการกระโชกของไฟฟ้าที่เข้ามาในกรณีที่ไฟฟ้าดับแล้วมาใหม่
      ทันที ซึ่งมีโอกาสทำให้เครื่องจักรและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เสียหายได้ เมื่อไฟดับแล้วมาใหม่ระบบของเครื่องจะยังไม่ทำงานจนกว่า
      จะทำการ RESET เครื่อง สำหรับ Reset Switch นั้นมี 2 แบบ คือแบบ Manual Reset และ Automatic Reset

ระบบป้องกันล่วงหน้าก่อนการทำงาน (Self Diagnosis)
      ออกแบบให้มีระบบป้องกันล่วงหน้าก่อนการทำงานหรือระบบป้องกันการรีเซ็ตเครื่อง โดยระบบจะทำการตรวจสอบแรงดันไฟฟ้าที่เข้ามา
      ทางด้าน Input ว่าอยู่ในย่านที่กำหนดสามารถควบคุมได้หรือไม่
ถ้าอยู่ในย่านที่กำหนดระบบจะยอมให้ Reset แต่ถ้าไม่อยู่ในย่านที่
      กำหนดระบบจะไม่ยอมให้ Reset ซึ่งคลอบคลุมการทำงานทั้งระบบ Manual Reset
และ Automatic Reset เพื่อให้มั่นใจว่าแรงดัน
      ไฟฟ้าที่จ่ายออกทางด้าน Output ของเครื่อง Stabilizer จะอยู่ในย่านที่ควบคุมตลอดเวลา นับตั้งแต่ที่เปิดสวิตช์เครื่องให้เริ่มทำงาน

ระบบหน่วงเวลาการเปิดจ่ายไฟฟ้าทางด้านขาออก (Output Delay System)
      ออกแบบให้มีระบบหน่วงเวลาการเปิดจ่ายไฟฟ้าทางด้านขาออก โดยระบบจะทำการตรวจสอบคุณภาพไฟฟ้าที่ผ่านการควบคุมของเครื่อง      Stabilizer อีกชั้นหนึ่ง ถ้าตรวจสอบไม่พบความผิดปกติใดๆ ระบบจะทำการเปิดจ่ายไฟฟ้าไปยัง Output ของเครื่อง Stabilizer เพื่อจ่าย
     ให้กับ Load หรืออุปกรณ์ที่ต่อพ่วงต่อไป ทั้งนี้เพื่อให้แน่ใจว่าคุณภาพไฟฟ้าที่จ่ายออกไป จะเป็นคุณภาพไฟฟ้าที่ดีมีเสถียรภาพทุกครั้ง
     ขณะเดียวกันยังสามารถป้องกันไฟกระชากระหว่าง Stabilizer กับ Load ได้ในกรณีที่ Load หรืออุปกรณ์ที่ต่อพ่วงเปิดสวิตช์ POWER      ค้างอยู่ หรือกรณีที่ผู้ใข้ตั้งระบบเครื่อง Stabilizer ให้ Automatic Reset เมื่อไฟดับแล้วมาใหม่เครื่องจะทำการ Reset
ตัวเองอัตโนมัติ
     ถ้าไม่มีระบบหน่วงเวลา Load หรืออุปกรณ์ที่ต่อพ่วงซึ่งสวิตช์ POWER เปิดค้างไว้จะเกิดไฟกระชากระหว่าง Stabilizer กับ Load ได้


ระบบตัดการทำงานอัตโนมัติ (Automatic Shutdown)
        ในขณะที่เครื่อง Stabilizer ทำงาน ระบบความปลอดภัยจะทำการตรวจสอบความผิดปกติต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น เพื่อความปลอดภัยสูงสุด
      ให้กับเครื่องมือ เครื่องจักร หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ต่อใช้งาน เมื่อตรวจพบความผิดปกติของระบบไฟฟ้าในเฟสใดเฟสหนึ่งหรือ
       ทุกเฟส ระบบจะตัดการทำงานอัติโนมัติทันที ดังนี้

     เมื่อไฟดับแล้วมาใหม่
      เมื่อแรงดันไฟฟ้าขาออกสูงมากหรือต่ำมากเกินกว่า ±10%
     เมื่อเกิดไฟกระพริบ
     เมื่ออุปกรณ์ภายในเสื่อมหรือเสีย

 

ซึ่งทำให้การทำงานผิดพลาด
      เมื่อ Spike Fuse ขาด เนื่องจากมี Spike Voltage เข้ามาทางสายส่งไฟฟ้า


ระบบเตือนด้วยเสียง (Alarm System)
   
  ระบบจะส่งเสียงเตือนในกรณีที่เครื่อง Stabilizer ตัดการทำงาน หรือเมื่อไม่มีไฟจ่ายออกมาจากเอาท์พุตของเครื่อง Stabilizer เช่น
      เมื่อเปิดเครื่องครั้งแรก โดยที่ยังไม่ได้กด Reset Switch หรือระบบ Auto Reset ทำงาน
      เมื่อไฟฟ้าดับแล้วมาใหม่
      เมื่อไฟฟ้าที่เข้ามาสูงกว่า หรือ ต่ำกว่าค่าที่ตั้งไว้
      เมื่อแรงดันไฟฟ้าขาออกสูงมากหรือต่ำมากเกินกว่า ±10%
       เมื่อเกิดไฟกระพริบ
       เมื่ออุปกรณ์ภายในเสื่อมหรือเสีย ซึ่งทำให้การทำงานผิดพลาด
      เมื่อฟ้าผ่าลงสายส่งไฟฟ้า ทำให้ไฟฟ้าที่เข้ามาสูงมากชั่วขณะ ชุดป้องกันจะบังคับให้ FUSE SPIKE ขาด

ระบบแสดงผล (Display System)
       ระบบแสดงผลของเครื่อง Stabilizer ประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ คือ
      Selector เป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ควบคุมการเลือกด้วยสวิตช์กด พร้อมระบบแสดงผลการเลือกด้วยแอลอีดี
      In/Out Voltage เป็นมิเตอร์แสดงค่าแรงดันไฟฟ้าทั้งขาเข้าและขาออก โดยสามารถเลือกการแสดงผลแบบ Line to Line และ Line
        to Neutral ของแต่ละเฟสด้วยสวิตช์ Selector
      Output Current เป็นมิเตอร์แสดงค่ากระแสไฟฟ้าที่ใช้งานผ่านเครื่อง Stabilizer โดยสามารถเลือกการแสดงผลของแต่ละเฟสด้วย
         สวิตช์ Selector
     Input Indicator เป็น Lamp แสดงสถานะไฟฟ้าของแต่ละเฟส ที่จ่ายเข้าเครื่อง Stabilizer
     Reset Lamp เป็นหลอดไฟที่จะติดสว่างตลอด เมื่อเครื่อง Stabilizer ทำงานเป็นปกติ

      Bypass Lamp
เป็นหลอดไฟที่จะติดสว่างเมื่อระบบ Bypass ทำงาน

ระบบบายพาส (Bypass System)
   
  ระบบ Bypass เป็นอุปกรณ์เพื่อใช้ในกรณีฉุกเฉินเมื่อเครื่อง Stabilizer เสียและต้องการใช้ไฟฟ้าอย่างเร่งด่วน โดยเป็นการใช้ไฟฟ้า
     แบบต่อตรงที่ไม่ผ่านระบบปรับแรงดันไฟฟ้าของเครื่อง Stabilizer เพื่อให้ผู้ใช้สะดวกและปลอดภัย ที่ไม่ต้องย้ายชุดสายไฟทางด้าน Input
     และ Output ของเครื่อง ระบบ Bypass ของ Silicon Power Supply ออกแบบมาเพื่อเน้นความปลอดภัยสูงสุด เป็นระบบที่ทำงาน
     ด้วย Magnetic โดยควบคุมการเปิด-ปิด ด้วยสวิตช์ ON-OFF และยังสามารถป้องกันการ Bypass ขณะที่เครื่อง Stabilizer กำลังทำงาน
     ซึ่งมีอยู่ในเครื่อง Stabilizer ระบบ Three Phase ทุกรุ่น

ประสิทธิภาพของเครื่อง (Efficiency)
     บริษัท ซิลิคอน พาวเวอร์ ซัพพลาย ให้ความสำคัญตั้งแต่การออกแบบโดยการนำเทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบันให้เกิดประโยชน์สูงสุด
     การคัดเลือกอุปกรณ์ทุกชิ้นผ่านการคัดสรรอย่างพิถีพิถันและควบคุมในทุกขั้นตอนการผลิต ตลอดจนมีการตรวจสอบคุณภาพครบ
     ทุกเครื่อง 100 %
เพื่อให้ได้เครื่องที่มีคุณภาพมาตรฐานและสูงด้วยประสิทธิภาพในการใช้งาน

 
 
 
ผลิตภัณฑ์กลุ่มอุตสาหกรรม
  ผลิตภัณฑ์ Single Phase >> SRD-Series
 
                                           กลับไปด้านบน

บริษัท ซิลิคอน พาวเวอร์ ซัพพลาย จำกัด 455/13-16 ซอยพิบูลย์อุปถัมภ์ ถนนลาดพร้าว แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320
โทร : 02-275-1182, 02-275-1275, 02-275-7161, 02-276- 9973 แฟกซ์ : 02-275-7309  E-mail : sales@siliconthai.com
สงวนลิขสิทธิ์ โดย บริษัท ซิลิคอน พาวเวอร์ ซัพพลาย จำกัด