8
 
ตารางเปรียบเทียบความแตกต่างของเครื่องควบคุมแรงดันไฟฟ้าแบบ Three Phase ระหว่างระบบ Static Electronics กับระบบ Servo Motor
ระบบ Static Electronics ระบบ Servo Motor
เป็นเครื่องควบคุมแรงดันไฟฟ้าที่ออกแบบให้ ปรับแรงดันไฟฟ้า
ด้วยการเปลี่ยน Tap หม้อแปลง โดยใช้ Thyristor เป็นสวิตซ์อิเล็กทรอนิกส์
ในการปรับเปลี่ยนขดลวดหม้อแปลง

เป็นเครื่องควบคุมแรงดันไฟฟ้าที่ออกแบบให้ ปรับแรงดันไฟฟ้า
ด้วยการเคลื่อนที่ของแปรงถ่านที่สัมผัสไปตามขดลวด
หม้อแปลงโดยใช้มอเตอร์เป็นตัวขับเคลื่อน

เวลาในการตอบสนองหรือเวลาในการปรับแรงดันไฟฟ้า มีความ
เร็วสูงมากกว่าระบบอื่นๆ ทุกชนิด
เวลาในการตอบสนองหรือเวลาในการปรับแรงดันไฟฟ้า ช้ากว่า
ระบบอื่นๆ ทุกชนิด
ไม่มีสัญญาณรบกวนสอดแทรกเข้าไปในระบบไฟฟ้าขณะทำการปรับแรงดันไฟฟ้า มีสัญญาณรบกวนสอดแทรกเข้าไปในระบบไฟฟ้า ขณะทำ
การปรับ ซึ่งเกิดจากการอาร์กที่หน้าสัมผัสของขดลวดกับแปรงถ่าน
แรกๆ อาจจะไม่ค่อยมีแต่เมื่อใช้งานไปนานๆ จะมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งจะส่งผลเสียให้กับเครื่องมือ เครื่องจักร หรืออุปกรณ์
อิเล็กทรอนิกส์ความไวสูงที่ต่อใช้งานอยู่
ไม่มีการเคลื่อนไหวใดๆ และ ไม่มีเสียงรบกวนขณะทำการปรับ
แรงดันไฟฟ้า
มีการเคลื่อนไหวและมีเสียงรบกวนขณะทำการปรับ เช่น
มอเตอร์ สายพาน โซ่ หน้าสัมผัสของแปรงถ่าน
มีวงจรกรองสัญญาณรบกวนและ Spike Protection เพื่อตัดระบบการทำงาน (Automatic Shutdown) ไม่มีวงจรกรองสัญญาณรบกวนและ Spike Protection
ทำให้เครื่องมือ เครื่องจักร หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ความไวสูง
ที่ต่อใช้งานอยู่อาจเสียหายได้
สามารถใช้งานได้ดีกับระบบไฟฟ้าที่มีการเปลี่ยนแปลง
ขึ้นลง ทั้งน้อยและมาก

สามารถใช้งานได้ดีกับระบบไฟฟ้าที่นิ่ง หรือมีการเปลี่ยนแปลงขึ้น
ลงน้อย ถ้านำไปใช้กับระบบไฟฟ้าที่มีการเปลี่ยนแปลงขึ้นลง
มากหรือขึ้นลงบ่อยๆ จะทำให้การปรับแรงดันไฟฟ้าไม่ทัน
และจะเกิดการสึกหรอมากทั้งที่ขดลวดและแปรงถ่านตลอด
จนระบบส่งกำลังอื่นๆ

สามารถใช้งานได้ในหลายสถานที่

มีข้อจำกัดในการใช้งานในบางสถานที่ เช่น สถานที่ต้องการความ
เงียบในการปฏิบัติงาน สถานที่มีฝุ่นละอองจากการทำงานซึ่ง
ฝุ่นละอองจะเป็นตัวเร่งให้เกิดการอาร์กที่จุดสัมผัสของขดลวด

สำหรับเครื่อง Three Phase ระบบควบคุมแรงดันไฟฟ้าของแต่
ละเฟส จะแยกการควบคุมอย่างอิสระ
ซึ่งจะส่งผลให้แรงดัน
ไฟฟ้าที่ผ่านการควบคุมมีความถูกต้องเที่ยงตรง เป็นไปตาม
Regulation ที่กำหนดไม่ว่าจะเป็นแรงดันไฟฟ้าระหว่าง Phase กับ Phase (Line to Line) หรือ Phase กับ Neutral (Line to Neutral) ถึงแม้ว่าแรงดันไฟฟ้าที่เข้ามาของแต่ละเฟส จะมีความเปลี่ยนแปลงไม่เท่ากันก็ตาม
สำหรับเครื่อง Three Phase ที่นำเข้ามาจำหน่ายในปัจจุบันระบบ
การปรับแรงดันไฟฟ้าของแต่ละเฟส ไม่ได้แยกอิสระออก
จากกัน
ถ้าแรงดันไฟฟ้าที่เข้ามาของแต่ละเฟสมีการเปลี่ยนแปลง
ไม่เท่ากัน เช่น เฟสที่ 1 ไฟสูงเกิน เฟสที่ 2 ไฟปกติ เฟสที่ 3 ไฟตก ถ้าวงจรเซ็นเซอร์ถูกติดตั้งให้ตรวจสอบเฟสที่ 1 ระบบขับเคลื่อน
ที่ใช้แกนยึดร่วมกันก็จะทำการปรับแรงดันไฟฟ้าให้เฟสที่ 1 ให้ถูก
ต้องแต่จะส่งผลให้เฟสที่ 2 และเฟสที่ 3 ผิดปกติ คือไฟต่ำและไฟ
ต่ำมากตามลำดับ ถึงแม้ว่าจะออกแบบวงจรเซ็นเซอร์ให้ดีเพียงใด
ก็ตาม ถ้าระบบขับเคลื่อนยังใช้แกนยึดร่วมกัน แรงดันไฟฟ้าที่ผ่าน
การควบคุมก็ไม่มีความถูกต้องเที่ยงตรงในทุกๆ เฟส ดังนั้นถ้าจำเป็น
ต้องใช้เครื่องควบคุมแรงดันไฟฟ้า ระบบ Servo จะต้องเป็นระบบ
ควบคุมแบบแยกอิสระของแต่ละเฟส ซึ่งจะดีกว่าแต่ราคาก็อาจจะ
สูงกว่าด้วย
เหมาะที่จะนำไปใช้งานกับเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์หรือ
เครื่องจักรที่ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์
รวมทั้งอุปกรณ์ไฮเทค
โนโลยีทุกชนิด
ไม่เหมาะกับเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ หรือเครื่องจักรที่ควบคุม
ด้วยระบบคอมพิวเตอร์
แต่เหมาะที่จะนำไปใช้กับระบบแสงสว่าง, ระบบทำความเย็น หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าธรรมดาทั่วไป
การบำรุงรักษาน้อยมาก

ต้องการการบำรุงรักษามากเป็นพิเศษ เช่น ต้องทำความสะอาด
บริเวณ
พื้นผิวของขดลวด ที่จะมีการสัมผัสกับแปรงถ่าน ต้อง
เปลี่ยนแปรงถ่าน
เมื่อเกิดการสึกหรอ ต้องทำความสะอาดและ
หยอดน้ำมันหรือสารหล่อลื่น ให้กับ โซ่, เฟือง, ลูกปืน ที่เป็นตัวส่งกำลัง (ถ้ามี)

อายุการใช้งานยาวนาน อายุการใช้งานสั้นและจะขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมในการ
ใช้งาน
เช่น ภาวะของแรงดันไฟฟ้าที่มีการเปลี่ยนแปลงมากหรือ
น้อย ชนิดของ Load ที่นำมาต่อใช้งาน ซึ่งมีการดึงกระแสไฟฟ้า
แบบคงที่หรือไม่คงที่ ฝุ่นละอองในการทำงาน รวมถึงความถี่ในการ
บำรุงรักษา
การซ่อมแซมแก้ไข เปลี่ยนอุปกรณ์ทำได้ง่าย การซ่อมแซมแก้ไขทำได้ยาก เช่น เมื่อเกิดการอาร์กที่ขดลวด
หม้อแปลงจะไม่สามารถซ่อมได้ ต้องเปลี่ยนยกชุดและต้องรอ
อะไหล่จากต่างประเทศ
อุปกรณ์ภายในมีคุณภาพมาตรฐานเป็นอุปกรณ์เกรดดี มียี่ห้อเป็นที่เชื่อถือ เช่น ใช้ Magnetic Contactor ของ Hitachi, Circuit Breaker ยี่ห้อ Mitsubishi
อุปกรณ์ภายใน ไม่ทราบยี่ห้อและแหล่งที่มา
ราคาเหมาะสม ออกแบบและผลิตในประเทศไทย โดย
บริษัท ซิลิคอน พาวเวอร์ ซัพพลาย จำกัด
ซึ่งเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายที่ได้รับการยอมรับสูงสุดในประเทศ
ราคาถูกกว่าเล็กน้อย ส่วนใหญ่จะนำเข้าจากประเทศจีน

บริษัท ซิลิคอน พาวเวอร์ ซัพพลาย จำกัด 455/13-16 ซอยพิบูลย์อุปถัมภ์ ถนนลาดพร้าว แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320
โทร : 02-275-1182, 02-275-1275, 02-275-7161, 02-276- 9973 แฟกซ์ : 02-275-7309  E-mail : sales@siliconthai.com
สงวนลิขสิทธิ์ โดย บริษัท ซิลิคอน พาวเวอร์ ซัพพลาย จำกัด